วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คำถามทบทวนบทที่ 8 - 10


คำถามทบทวนบทที่ 8 - 10

บทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

1. เหตุใดการตัดสินใจของผู้บริหารจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ
ตอบ    ผู้บริหาร (Executive) เป็น บุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และอนาคตขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกำหนดทิศทางในอนาคตของ องค์การผ่านการตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสสำคัญทางธุรกิจซึ่งการตัดสินใจของ ผู้บริหาร จะมีผลไม่เพียงต่อการดำเนินงานในระยะสั้น แต่ครอบคลุมถึงความอยู่รอด ความมั่นคง และความเจริญเติบโตขององค์การ
2. สารสนเทศสำหรับผู้บริหารมีคุณลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากสารสนเทศสำหรับบุคคลอื่นในองค์การอย่างไร
ตอบ     ผู้ บริหารแต่ละคนจะมีสัดส่วนการตัดสินใจในแต่ละลักษณะแตกต่างกันตามงานของตน หรือสถานการณ์ของธุรกิจ แต่ลักษณะร่วมในการตัดสินใจของผู้บริหารที่เหมือนกันคือ ผู้บริหารที่มีศักยภาพภาพต้องสามารถตัดสินใจในปัญหาหรือวิกฤตการณ์ของ องค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำองค์การฝ่าวิกฤตและดำเนินไปสู่จุดม่งหมายที่ต้องการอย่างราบรื่น
3. ปกติผู้บริหารได้รับข้อมูลในการตัดสินใจจากแหล่งใดบ้าง ตลอดจนข้อมูลจากแต่ละแหล่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริหารอย่างไร
ตอบ     1. ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการดำเนินงาน (Transaction Processing Data) เป็น ข้อมูลที่แสดงผลการปฏิบัติงานขององค์การ หน่วยงาน หรือระบบที่สนใจ ข้อมูลจากการดำเนินงานช่วยสร้างความเข้าใจและสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ ดำเนินงานที่ผ่านในอดีต โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบ การควบคุม และการแก้ปัญหาการดำเนินงานโดยทั่วไป ตลอดจนสามารถนำมาประกอบการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. ข้อมูลจากภายในองค์การ (Internal Data) เป็น ข้อมูลที่จัดทำขึ้นภายในองค์การ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงานของกิจกรรม หรือโครงการในด้านต่าง ๆ ขององค์การได้แก่ งบประมาณ แผนรายจ่าย การคาดการณ์ยอดขายและรายได้ และแผนทางการเงิน เป็นต้น โดยข้อมูลจะแสดงอดีต ปัจจุบัน และทิศทางในอนาคตขององค์การ เพื่อกำหนดแนวทางและจัดส่วนผสมของทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ข้อมูลจากภายนอกองค์การ (External Data) ปัจจัย ภายนอกมีผลกระทบต่อองค์การโดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม แลวิทยาการในประเทศหนึ่งจะมีเกี่ยวเนื่องไปทั่วโลก ผู้บริหารระดับสูงมักใช้ข้อมูลที่มาจากแหล่งภายนอกมาประกอบในการตัดสินใจของ ผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือการตัดสินใจที่จะดำเนินธุรกิจหรือล้มเลิก เป็นต้น
4. จงอธิบายความสำพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อศักยภาพในการแข่งขันในองค์การในยุคปัจจุบัน
ตอบ    ความ รวดเร็วในการเข้าถึงและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีที่หนึ่ง ตลอดจนการกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลขอคนหมู่มาก ส่งผลให้ผู้บริการองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจต้องสามารถทำการตัดสินใจ ทางเลือกของการแก้ปัญหาและโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การดำเนินงานและปัญหาทางธุรกิจที่ซับ ซ้อนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยลดความไม่แน่นอนและความผิดพลาด ในการตัดสินใจลง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับเทคโนโลยีสารสนเทศยังมิได้เป็น ความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการส่งเสริมการนำระบบสารสนเทศมาช่วยงานทางธุรกิจด้วย
5. จงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมทักษะทางสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
ตอบ    จาก การศึกษาทำให้เราสามารถกล่าวได้ว่า ผู้บริหารระดับสูงในประเทศสหรัฐอเมริกามีความรู้และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมา ประยุกต์ในการทำงานมากขึ้น แต่ภาพรวมของความเข้าใจและการใช้งานของระบบสารสนเทศของผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยยังมิได้พัฒนาทักษะทางสารสนเทศสู่ ระดับที่ต้องการ และความเข้าใจอย่างแท้จริงในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นในช่วงเวลาของการตื่นตัวด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีความเข้าใจและทักษะมากขึ้น โดยเฉพาผู้ที่เติบโตในยุคของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในทางปฏิบัติผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำสารสนเทศมาส่งเสริมศักยภาพในการ ดำเนินงานขององค์การ ซึ่งจะส่งผลให้องค์การสามารถดำเนินงานโดยไม่เสียเปรียบคู่แข่งขันนอกจากนี้ การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานของธุรกิจต้องได้รับความสำคัญ และการสนับสนุนจากผู้บริหาร มิเช่นนั้นพัฒนาการของระบบสารสนเทศจะไม่สามารถเกิดขึ้นในทิศทางที่เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การได้
6. จงอธิบายความหมายและคุณลักษณะเฉพาะของ EIS
ตอบ    ลักษณะรายละเอียดระดับการใช้งานมีการใช้งานบ่อยความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหารการใช้งาน ใช้ ในงานตรวจสอบ ควบคุมการสนับสนุนการตัดสินใจผู้บริหารระดับสูงไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนการ สนับสนุนข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กรผลลัพธ์ที่แสดงตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดียการใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆความเร็วในการตอบสนองจะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใดตารางแสดงลักษณะเฉพาะของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
7. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, DSS และ MIS
ตอบ      EIS และ DSS ต่าง ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ ใช้ แต่ทั้งสองระบบจะมีความแตกต่างกันในระดับของการใช้งาน การนำเสนอข้อมูล และความยากง่ายในการใช้ โดยที่เราสามารถกล่าวได้ว่า EIS เป็น DSS ที่ ถูกพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสารสนเทศในการตัดสินใจแก้ปัญหา และการดำเนินงานของผู้บริหารที่ไม่ต้องการข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้อง สมบูรณ์ แต่สร้างความเข้าใจและให้ภาพรวมของระบบหรือปัญหาที่ผู้บริหารสนใจ โดย EIS อาจได้รับการออกแบบและพัฒนาจากฐานของ DSS เพื่อ ให้ผู้บริหารสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนคณะที่ปรึกษาและผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องใน DSS ถ้าผู้บริหารเกิดความต้องการข้อมูลมากกว่าที่ EIS ถูกพัฒนาขึ้น
8. คุณสมบัติสำคัญของ EIS มีอะไรบ้าง
ตอบ      1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Plannig Support )
ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ
2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ External Environment  Focus )
ปกติ สิ่งที่ผู้บริหารต้องการจากระบบสารสนเทศคือ การที่จะสามารถเรียกสารสนเทศที่ต้องการและจำเป็นต่อการตัดสินใจออกมาจากฐาน ข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะข้อมูลและข่าวสารที่เกิดขึ้นกับ สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องการประกอบการตัดสินใจ
3.มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad- based Computing Capabilities ) การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนและ ขาดความชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมองถึงภาพโดยรวมของระบบแบบกว้างๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด
4.ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use )
เนื่อง จากผู้บริหารจะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ผู้บริหารจึงมีเวลาในการตัดสินใจในแต่ละงานน้อยหรือกล่าวได้ว่าเวลาของผู้ บริหารมีค่ามาก
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization )
การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ต่อพนักงานอื่นและต่อการ ดำเนินธุรกิจขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer ) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาEIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EI S ที่มีศักยภาพสูงมีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ
9. ข้อดีและข้อจำกัดในการนำ EIS มาใช้งานในองค์การมีอะไรบ้าง
ตอบ      ข้อดี
1. ลักษณะของข้อมูล คุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติประจำอยู่แล้ว
2. ใช้ บุคลากร งบประมาณ เวลาดำเนินการ ค่อนข้างน้อย
3. โอกาสสร้าง MIS ได้สำเร็จ อยู่ในระดับสูง
ข้อเสีย
1. ความพร้อมที่ไม่เท่ากันของหน่วยงานย่อย รวมทั้ง
การรวบรวมและความทันสมัยของข้อมูล เป็น อุปสรรคต่อการผลิต สารสนเทศ เป็นส่วนรวมที่ผู้บริหารต้องการ
2. ข้อมูลประเภทเดียวกัน ปรากฏในหลายหน่วยงานย่อย
เป็น นัย แห่งความซ้ำซ้อน และ ความขัดแย้ง ทำให้ ขาดความน่าเชื่อถือ และ เสียค่าใช้จ่ายสูง
10. ท่านมีความเห็นว่ามีการประยุกต์ EIS ในองค์การในประเทศบ้างหรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ      ปัจจุบัน พัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง
1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
3. เครื่องมือในการทำงาน
4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
5. เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร
 
 
 
บทที่ 9  ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
 
       1. จงอธิบายความหมายของระบบความฉลาดและปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ตอบ ระบบความฉลาด หมายถึงระบบที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถกล่าวได้ว่า มีความฉลาดตามความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มักจะเรียนว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เนื่อง จากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นสาขาวิชาที่มีการพลวัตอย่างรวด เร็ว ส่งผลให้ความหมายและความเข้าใจในหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
AI หมายถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามรถเรียนรู้ ใช้เหตุผล และปรับปรุงข้อบกพร่องของตนให้ดีขึ้น
      2. AI มีการดำเนินงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไปอย่างไร
ตอบ  ปัญญาประดิษฐ์ ระบบสารสนเทศทั่วไป
              - ประมวลสัญลักษณ์และตัวเลข - ประมวลทางคณิตศาสตร์
              - ไม่ดำเนินตามขั้นตอน - วิเคราะห์และแก้ปัญหาตาม
          ขั้นตอนทางคณิตศาสตร์
-              ให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบแผน
       3. เราสามารถจำแนก AI ออกเป็นกี่ประเทศ อะไรบ้าง
       ตอบ  1. การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
                 2. ระบบภาพ (Vision System)
                 3. ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)
                 4. หุ่นยนต์ (Robotics)
                 5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
     4. ระบบผู้เชี่ยวชาญคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก AI อย่างไร
ตอบ ระบบสารสนเทศหมายถึงชุดค่ำของคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับ ปัญหาเฉพาะเรื่อง และกระบวนการอนุมานเพื่อนำไปสู่ผลสรุปขอปัญหานั้น โดยความรู้ที่เก็บรวบรวมอาจเป็นความรู้ที่ถูกบันทึกอย่างเป็นทางการในเอกสาร ต่าง ๆ หรือเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
     5. จงเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างระหว่างฐานความรู้กับฐานข้อมูล
ตอบ ความแตกต่างของความรู้และข้อมูล
        ความชัดเจน
        ความเป็นสากล

6. เราสามารถประเมินความรู้ระบบสารสนเทศว่ามีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความรู้อย่างไร
ตอบ  การ ทดสอบแบบ Turning (Turning Test) โดย กำหนดคอมพิวเตอร์และบุคคลที่มีความรู้ในสาขานั้นตอบคำถามจากผู้สัมภาษณ์ ผู้ตอบคำถาม และระบบความฉลาดถูกจัดให้อยู่ในห้องที่แยกจากกันอย่างเป็นสัดส่วน
 
7.จงอธิบายขั้นตอนในการพัฒนา ES ตลอดจนเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการพัฒนา ES กับการพัฒนาระบบสารสนเทศปกติ
ตอบ กระบวนการพัฒนา ES ออกเป็น ขั้นตอน
               1) การ วิเคราะห์ปัญหา ผู้พัฒนาระบบความฉลาดจะดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำระบบไปใช้งานในสถานการณ์จริงโดยทำเข้าใจกับปัญหา จัดขั้นตอนในการแก้ปัญหา การกำหนดรูปแบบของการให้คำปรึกษา ตลอดจนรวบรวมความเข้าใจในสาระสำคัญที่จะนำมาประกอบการพัฒนาระบบ
        2) การเลือกอุปกรณ์ ผู้พัฒนาระบบต้องพิจารณาเลือกอุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของ ES ซึ่งแต่ละส่วนจะมีความต้องการอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมแตกต่างกัน โดยพิจารณาความเหมาะสมของส่วนประกอบที่สำคัญ
              3) การถอดความรู้ การถอดความรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนา ES ซึ่งเราสามารถกล่าวได้ว่า เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบความฉลาด
              4) การสร้างต้นแบบ ผู้พัฒนา ES นำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวประกอบารสร้างต้นแบบ ของ ESโดย ผู้พัฒนาระบบจะเริ่มต้นจากกากนำแนวความคิดความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ ระบบที่ต้องการพัฒนาจัดเรียงลำดับ โดยเริ่มจากเป้าหมายหรือคำตอบของการประมวล การไหลเวียนทางตรรกะของปัญหา ขั้นตอนแสดงความรู้ การจัดลำคับของขั้นตอนที่จำเป็น พร้อมทั้งทดสอบการทำงานองต้อนแบบที่สร้างขึ้นว่า สามารถทำงานได้ตามที่ได้วางแผนไว้
             5) การ ขยาย การทดสอบ แลการบำรุงรักษา หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้นและสามารถผ่านการทดสอบการทำงานแล้ว เพื่อที่จะให้ระบบสามารถนำไปใช้ในสภาวการณ์จริงได้ ก็จะทำให้การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นจากต้นระบบ โดยเฉพาะสวนที่เป็นฐานความรู้ เป็นส่วนที่ใช้อธิบายส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้ และตกแต่งหน้าจอให้มีความเหมาะสมการใช้งานมากขึ้น เมื่อระบบถูก ขยายขึ้นแล้วก็ต้องมีการทดสอบระบบอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ในกรณีศึกษาที่ทีมพัฒนาพอรู้คำตอบแล้ว เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบว่าได้ทำงานอย่างถูกต้องหรือไม่ เมื่อได้ผ่านการทดสอบแล้ว ก็พร้อมที่จำเป็นใช้จริงได้ ก็ควรมีหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนในการบำรุงรักษาและปรับปรุงอยู่เสมอฐานความรู้ ฐานความรู้ควรต้องได้รับการเพิ่มความรู้ลงไปเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ระบบสามารถมีความรู้เพียงพอในการแก้ปัญหาต่างๆ
8. วิศวกรรมความรู้คืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจากการวิเคราะห์และออกแบบอย่างไร
ตอบ วิศวกรความรู้ ซึ่งมีความแตกต่างจาก นักวิเคราะห์และนัดออกแบบระบบ เอง จากวิศวกรความรู้จะใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลของการวิเคราะห์และตัดสินใจใน ปัญหาทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ โยข้อมูลที่ได้จะยากการอธิบายเหตุผลในการตัดสินใจของบุคคลในแต่ละครั้ง ขณะที่นักวิเคราะห์ระบบจะพัฒนาระบบสารสนเทศจากข้อมูลทางตรรกะและคณิตศาสตร์
9. จะอธิบายการทำงานของระบบเครือข่ายใยประสาท
     ตอบ     ระบบเครือข่ายเส้นประสาทเป็นอีกแขนงหนึ่งของ AI ที่ ได้รับความสนใจศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานแก้ปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาการตามประสบการณ์ เนื่องจากระบบเครือข่ายเส้นประสาทจะเลียนแบบการทำงานของสมอง และระบบประสาทมนุษย์ โดยระบบจะสัมผัส เรียนรู้ จดจำ และปฏิบัติงานตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพตามการออกแบบ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทำให้ระบบเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10.ท่านคิดว่าแนวโน้มและทิศทางในการพัฒนาระบบความฉลาดของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทางใด
     ตอบ     การ พัฒนาความฉลาดของระบบคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เมื่อเปรียบเทียบกับความฉลาดของมนุษย์ยังมีความซับซ้อนเกินกว่าที่ระบบ คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะสามารถลอกเลียนแบบได้อย่างสมบูรณ์
                การ นำระบบความฉลาดมาประยุกต์ในทางธุรกิจจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แก่องค์การ และทำให้ธุรกิจมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็ว ตลอดจนทำให้บุคคลสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงการพัฒนาผลิตภาพขององค์การ
 

บทที่ 10 การจัดการความรู้

1. เพราะเหตุใดในปัจจุบันความรู้จึงมีความสำคัญกับองค์การ
ตอบ      เมื่อข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างมากมายจึงทำให้เกิดสังคมแบบใหม่ที่เรียกกันว่า สังคมสารสนเทศ ,สังคม แห่งความรู้ หรือสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นผลให้องค์การต่างๆต้องปฏิรูปตนเองเพื่อความอยู่รอดกันอย่างเต็มที่ และรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
2.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูล ความรู้ และสารสนเทศ
ตอบ      ข้อมูล  คือ   ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง    บันทึก กิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร
ความรู้    คือ   กรอบ ของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน
สารสนเทศ    หมายถึง   ข้อมูล ต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
3. ลำดับขั้นของความรู้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ     5   ประเภท
1. ความสามารถ (Capability)
2.ความชำนาญ (Expertise)
3. ความรู้ (Knowledge)
4. สารสนเทศ (Information)
5. ข้อมูล (Data)
4. โมเดลการสร้างความรู้ (SECI) ประกอบด้วยกระบวนการอะไรบ้าง และแต่ละกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ      Socialization    คือ    การสร้างความรู้ด้วย การแบ่งปันประสบการณ์โดยการพบปะ
สมาคม และพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอด แบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
Externalization     คือ    การนำความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นำมาพูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้
เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
Combination   คือ   การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมารวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
เพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้
Internalization    คือ    การนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง ๆโดยการ ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา จนกลายเป็นความรู้และปรับปรุงตนเอ
5. เพราะเหตุใดองค์การในปัจจุบันจึงเล็งเห็นเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้
ตอบ       จะ เห็นได้ว่าการสร้างความรู้ให้อยู่คู่กับองค์การจะต้องอาศัยความร่วมมือของ บุคลากรทั้งองค์กร ไม่ใช่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการสร้างความรู้ในองค์การ คือ องค์จะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างความรู้ และเมื่อองค์การร่วมกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน ความรู้ระหว่างกันได้ จะ ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์การในที่สุด ดังนั้นองค์การใดที่มีการสร้างสรรค์ความรู้อย่างไม่หยุดยั้งจะเป็นแรงผลัก ดันอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ในองค์การต่อไป
6. จงอธิบายความหมายของการจัดการความรู้
ตอบ    การ รวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
7. กระบวนการของการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ      ประกอบด้วย   6   ส่วน
1. การสร้างความรู้ (Create)
2. การจัดและเก็บความรู้ (Capture/Store)
3. การเลือกหรือกรองความรู้ (Refine)
4. การกระจายความรู้ (Distribute)
5. การใช้ความรู้ (Use)
6. การติดตาม/ตรวจสอบความรู้ (Monitor)
8. ดังที่ Brain  Quiun กล่าวไว้ว่า  การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ” ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร
ตอบ       เห็นด้วย       เพราะ เทคโนโลยีช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูล หรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทไม่มีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และจะเห็นได้ว่า ลำพังเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็ไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดสินค้า บริการ กระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ได้ เพราะทั้งหมดนี้จะมีอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จในการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ความสำเร็จในการจัดการความรู้จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น