วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คำถามทบทวนบทที่1-7


คำถามทบทวนบทที่1-7

คำถามทบทวนบทที่ 1


1.จงอธิบายความหมายและส่วนประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ   Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
            1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น
2.เหตุใดการจัดการข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ใน การประมวลผล โดยที่ระบบทางกายภาพประกอบด้วยคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และระบบเครือข่าย ขณะที่ระบบนามธรรมเกี่ยวข้องข้อมูลกับการจัดรูปแบบของการมีปฏิสัมพันธ์ด้าน สารสนเทศทั้งภายในและนอกระบบให้สามารถดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
3.หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)มีหน้าที่อะไร และสามารถเปรียบเทียบกับอวัยวะส่วนใดของมนุษย์
ตอบ CPU จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์
         สามารถเปรียบเทียบ CPU กับสมองของมนุษย์
4.เราสามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง

  ตอบ  จำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็น 4 ประเภท
             1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์( Supercomputer )
             2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ( Mainframe )
             3. มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer)
             4. ไมโครคอมพิวเตอร์  ( Microcomputer)
 เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
 แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
 แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer
5.เหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนแปลงโลกและท่านเห็นด้วยกับความคิดนี้หรือไม่  เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วย เพราะคอมพิวเตอร์สามารถทำงานด้ายหลายอย่าง  รวดเร็ว และงานบางอย่างคอมพิวเตอร์สามารถทำแทนมนุษย์ได้
6.ชุดคำสั่งและภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ ชุดคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer Program) คือ เป็นชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
        ภาษาคอมพิวเตอร์(Computer Larguage) เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำงานรวมกันอย่างสะดวกราบรื่น
       โดยชุดคำสั่งถูกเขียนขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
7.ภาษายุคที่4 หรือ 4GL เป็นอย่างไร และมีความแตกต่างจากภาษาคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร
ตอบ ป็นภาษาระดับสูงที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น ฐานข้อมูล การประมวลเอกสาร และการจัดตาราง เป็นต้น โดยที่ 4GL จะง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่ลึกซึ้ง
8.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นประโยชน์ต่องานสารสนเทศขององค์การ
ตอบ โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร เป็นต้น เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การส่งผ่านข่าวสารข้อมูลในระบบไกลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และเป็นระบบที่ช่วยให้การสื่อสารข้อมูลมีความถูกต้อง ชัดเจน และรวดเร็วสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

คำถามทบทวนบทที่ 2

1.นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management  Information Systemsหรือ MIS หมายถึงระบบที่รวบรวมและจัด เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง  ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง  ของผู้บริหาร
เช่น การบันทึกข้อมูล การจัดทำทะเบียนประวัติ

2.ข้อและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
 ตอบ  มีความต่างกัน ข้อมูล  หมายถึงข้อมูลดิบ (Raw Data)ที่ถูกเก็บรวบ รวมจากแหล่งข้อมูลต่าง  ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยข้อมูลจะยังไม่มีความหมายในกานนำไปใช้งาน 
    สารสนเทศ หมายถึง ผลที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงานหรือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
 3.สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ     1.ถูกต้อง
           2.ทันเวลา 
       3.สอดคล้องกับงาน
       4.สามารถตรวจสอบได้

4.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไ
ตอบ   1.) เข้าถึงสารสนเทศ
       2.) การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติ
       3.) ตรวจสอบผลการดำเนินงาน
       4. )ศึกษา และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
                  
5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
ตอบ    1.ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล
        2.ความปลอดภัยของข้อมูล
        3.ความยืดหยุ่น
          4.ความพอใจของผู้ใช้

6.บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ    มี ระดับ 
1. )หัวหน้าระดับต้น (First-Line Supervisor หรือ Operation Manager)
2.ผู้จัดการระดับกลาง (Middle Manager) 
3.ผู้บริหารระดับสูง(Executive หรือ Top Manager)

7.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ


ลักษณะของระบบ
ระดับของผู้ใช้
ผู้จัดการระดับ
ปฏิบัติการ
ผู้จัดการระดับ
กลาง
ผู้จัดการระดับสูง
ที่มาของสารสนเทศ
-ภายใน
-ภายใน
-ทั้งภายในและภายนอก
-วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ
-ปฏิบัติงาน
-ควบคุมผลปฏิบัติงาน
-วางแผน
-ความถี่ของการใช้สารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ไม่แน่นอน
-ขอบเขตของสารสนเทศ
-แคบแต่ชัดเจน
-ค่อนข้างกว้าง
-กว้าง
-ความละเอียดของสารสนเทศ
มาก
-สรุปกว้าง 
-สรุปชัดเจน
การรายงานเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นแล้ว
เกิดแล้ว/กำลังจะเกิด
อนาคต
ความถูกต้องของสารสนเทศ
สูง
ปานกลาง
ตามความเหมาะสม

8.ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
ตอบ  1.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
      2.เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตณ์
      3.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
      4.มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
      5.บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารโทรคมนาคม
      6.การจัดและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
            
9.โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งเป็น 3 ส่วน
1.) หน่วยวิเคราะห์ และออกแบบระบบ (System Analysis and Design Unit)
2.) หน่วย เขียนชุดคำสั่ง(Programming Unit)
3.) หน่วยปฏิบัติการและบริการ(Operations and Services Unit)

10.บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็น 7ประเภท
1.) หัวหน้าพนักงาน สารสนเทศ
2.) นักวิเคราะห์และ ออกแบบ
3.) ผู้เขียนชุดคำ สั่ง
    4.) ผู้ควบคุม เครื่องคอมพิวเตอร์
5.) ผู้จัดตารางเวลา
6.)  พนักงานจัดเก็บและรักษา
7.)  พนักงานจัดเตรียมข้อมูล

11.เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ ?

ตอบ เพราะ การใช้เทคโนโลยีใหม่  สามารถทำให้เกิดการกระจายอำนาจในองค์การ การบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลหรือคู่แข่งขัน เป็นต้น ดั้งนั้นผู้ที่เกี่ยวก็ จะต้องตระหนักถึงบุคคลรอบข้างด้วยว่ามีผลกระทบต่อใคร
12.จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ   ผลกระทบทางบวก
1.) เพิ่มความสะดวก สบายในการสื่อสาร การบริการ และการผลิต เช่น ติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.) เกิดสังคมแห่ง การเรียนรู้
3.) มีระบบผู้เชี่ยว ชาญต่าง  ในฐานข้อมูลความรู้
  ผลกระทบทางลบ
1.) ก่อให้เกิดความ เครียดขึ้นในสังคม
2.) ก่อให้เกิดการ รับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก เช่น การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 
3.) ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม

คำถามทบทวนบทที่ 3

1.จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้

1.1  อธิบายความหมายของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (TPS)
ตอบ   ระบบ สารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อให้ทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงาน ภายในองค์กร โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะ ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันของ องค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็น จำนวนมากอีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศอ้างอิงอย่างสะดวกและ ถูกต้องใน อนาคต

1.2  หน้าที่หลักของ TPS มีอะไรบ้าง
ตอบ        1.การทำบัญชี  (Bookeeping) ทำ หน้าที่ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชีที่เกิดขึ้น ในแต่ละวันขององค์การ โดยการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นมักจะเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 กลุ่มคือ ลูกค้า (Customer) และผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) โดยที่องค์การต้องมการลงบันทึกรายการขายสินค้าในแต่ละวัน และบันทึกรายการซื้อสินค้าเข้าร้าน เป็นต้น
             2.การอออกแบบเอกสาร(Document Issuance) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกแบบเอกสาร   ต่าง  ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์การ                    
             3.การทำรายงานควบคุม (Control Reporting) ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการเก็บเอกสารต่าง ๆ ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานขององค์การ 

        1.3  อธิบายส่วนประกอบของวงจรการทำงานของ TPS ว่าแตกต่างจากระบบจัดออกรายงาน     สำหรับการจัด MRS อย่างไร
ตอบ   TPS และ MRS ข้อแตกต่างคือ MRS จะออกรายงานที่มีวัตถุประสงค์สำหรับสนับสนุนการบริหารและการจัดการของผู้ บริหาร ขณะที่ TPS จะออกรายงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงและควบคุมการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวันต่อองค์การ

2. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้

2.1 อธิบายความหมายของระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ (MRS)
ตอบ  ระบบ สารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ

2.2 รายงานที่ออกระบบ MRS มีกี่ประเภท และอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ   4 ประเภท
                    1.รายงานที่ออกตามตาราง(Schedule Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่น ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน เป็นต้น
                    2. รายการที่ออกในกรณีพิเศษ (Exception Report) เป็น ราบงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น โดยการนำเสนอรายงานพิเศษมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้บริหารรับทราบ ใจละทำการตัดสินใจแก้ไขและควบคุมผลประโยชน์ขององค์การ เช่น รายชื่อลูกค้าที่ค้างชำระ เป็นต้น
                   3. รายการที่ออกตามความต้องการ (Demand Report) เป็น รายการที่จัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้บริหาร ซึ่งรายงานตามความต้องการจะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ผู้บริหารต้องการทราบ เพื่อให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจในปัญหาและสามารถตัดสินใจอย่างเหมาะสม
                  4. รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์ (Predictive Report) เป็นรายงานที่ใช้ข้อสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร การพยากรณ์จะอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติและคณิตศาสตร์

2.3 สิ่งที่ควรมีในรายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีอะไรบ้าง ?
ตอบ      1. ตรงประเด็น (Relevance)
           2. ความถูกต้อง (Accuracy)
           3. ถูกเวลา (Timelinrss)
           4.สามารถพิสูจน์ได้ (Verifiability)
            
     2.4 คุณสมบัติที่ดีของระบบ MRS มีอะไรบ้าง ?จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ               -  สนับสนุนการตัดสินใจ
             -  ผลิตรายงานตามตารางที่ กำหนด
             -  ผลิตรายงานตามรูปแบบที่กำหนด
             -  รวบรวมและประมวลผลข้อมูล
             -   ผลิตรายงานออกมาในรูปกระดาษ

3.จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
ตอบ     ระบบ สารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร    เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ้งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศหรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารปัจจุบัน DSS ได้ รับการพัฒนาและนำไปใช้ในองค์กร เนื่องจากเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่าย และเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหาร

4. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้

4.1 อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS)
ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย OIS จะ ประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผล สูงสุด หรือสามารถกล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือ ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์เพื่อจะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อ สาร ระหว่างพนักงานภายในองค์กรเดียวกันและระหว่างองค์กร รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ

4.2  อธิบายหน้าที่ของระบบจัดการเอกสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  ระบบ การจัดเอกสาร ถูกพัฒนาขึ้นให้มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดทำ กระจาย และเก็บรักษาเอกสารต่าง ๆ ภายในองค์กร โดยระบบจัดเอกสารจะประกอบด้วยเครื่องมือสำคัญต่อไปนี้
-          การประมวลคำ
-          การผลิตเอกสารหลายชุด
-          การออกแบบเอกสาร
-          การประมวลรูปภาพ
-          การเก็บรักษา

4.3 อธิบายหน้าที่ของระบบควบคุมข่าวสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ     ระบบ ควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อควบคุมการกระจายและการใช้งานข่าวสารในสำนักงาน โดยการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบในการส่งผ่านข่าวสารที่สำคัญต่อไปนี้
                 -          โทรสาร
                 -          ไปรษณีย์เล็กทรอนิกส์
                -          ไปรษณีย์เสียง

4.4 อธิบายหน้าที่ของระบบการประชุมทางไกลในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ระบบประชุมทางไกล เป็นระบบเชื่อมโยงบุคคลตั้งแต่ 2 คนซึ่งอยู่กันคนละที่ ให้สามารถประชุมหรือโต้ตอบกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน
                            -   การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
                            -   การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
                            -   การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
                            -    โทรทัศน์ภายใน
                            -    การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล

4.5 อธิบายหน้าที่ของระบบสนับสนุนการทำงานสำนักงานในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  ระบบ สนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้พนักงานในสำนักงานเดียวกันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสำนักงานให้ เกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยที่เราสามารถแบ่งระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงานออกได้เป็นระบบดัง ต่อไปนี้
-          ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม
-          ระบบจัดระเบียบงาน
-          คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
-          การนำเสนอประกอบภาพ
-          กระดานข่าวสารในสำนักงาน
บทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ               
1.  ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไรบ้าง ?

ตอบ       ตั้งแต่เริ่มที่จะพัฒนาระบบใหม่ให้กับองค์การ โดยบุคคลหรือกลุ่มควรที่จะมีการพัฒนาระบบหรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน ผู้พัฒนาระบบ เพื่อให้การพัฒนาระบบใหม่สำเร็จด้วยดีทั้งในด้านงบประมาณ กรอบของระยะเวลา และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ


2.   ปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความ

สำเร็จมีอะไรบ้าง?
ตอบ           1. ผู้ใช้ระบบ
                            
                 2. การวางแผน
                    3. การทดสอบ
                                4. การจัดเก็บเอกสาร
                        
                    5. การเตรียมความพร้อม
                    6. การตรวจสอบและประเมินผล
                                7. การบำรุงรักษา
                    
                    8. อนาคต


3.  หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบ

สารสนเทศมีอะไรบ้าง ?
ตอบ   1. ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งผู้บริหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องตลอดช่วงระยะเวลาในการพัฒนาระบบ
           2. รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่
           3. วางแผนในแต่ละขั้นตอนของงานให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน และวางแผนให้สอดคล้องกับการขยายตัวขององค์การในอนาคตด้วย
          4. ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ระบบ
          5. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ
          6. วิเคราะห์ข้อกำหนดด้านฐานข้อมูล รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลที่สามารถใช้กับงานต่าง ๆ ในระบบได้ และรองรับอนาคต
          7. ทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการะ เคราะห์ระบบโดยละเอียด
          8. กำหนดลักษณะของเครือ ข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
          9. สร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น และร่วมกันทดสอบโปรแกรมที่พัฒนา
         10. ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบรวม ถึงการเตรียมแผนรองรับในการปรับเปลี่ยนระบบ
         11. จัดทำแบบสอบถามถึงการดำเนินงานของระบบใหม่ ที่ได้ติดตั้งไปแล้วในรูปแบบของรายงานผลการใช้งาน
         12. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ เป็นการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น รวมทั้งเป็นการปรับปรุงดัดแปลง หรือแก้ไขทั้งโปรแกรมและขั้นตอนการทำงานของระบบ เพื่อให้มีการทำงานที่ถูกต้องมากที่สุด
         13. เป็นผู้ให้คำปรึกษา ผู้ประสานงาน และผู้แก้ปัญหา ให้แก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนเกี่ยวข้องกับระบบ

4.  ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกัน?
ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ และมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ ปกติการออกแบบและพัฒนาระบบสานสนเทศในองค์การขนาดใหญ่ จะต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกจากหลายส่วน โดยจัดรูปแบบการทำงานแบบโครงการ เนื่องจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และขอบเขตงานหลายครอบคลุมไปหลายส่วนงาน
ประกอบไปด้วยบุคคลดังนี้
1.             คณะ กรรมการดำเนินงาน
2.             ผู้ จัดการระบบสารสนเทศ
3.             ผู้ จัดการโครงการ
4.             นัก เขีสยนโปรแกรม
5.             นัก วิเคราะห์ระบบ
6.             เจ้า หน้าที่รวบรวมข้อมูล
7.             ผู้ ใช้และผู้จัดการทั่วไป

5. วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่วิธี อะไร

บ้าง ?
ตอบ  4 วิธีดังนี้
1.             วิธีเฉพาะเจาะจง
2.            วิธีสร้างฐานข้อมูล
3.             วิธีจากล่างขึ้นบน
4.             วิธีจากบนลงล่าง
6. การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง?
ตอบ   5 ขั้นตอนดังนี้
1.             การ สำรวจเบื้องต้น
2.             การ วิเคราะห์ความต้องการ
3.             การ ออกแบบระบบ
4.             การ จัดหาอุปกรณ์ของระบบ
5.             การ ติดต่อระบบและการบำรุงรักษา

7.   ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นสำรวจเบื้องต้น?
ตอบ การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ สารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ เป็นต้น

8.  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ?
ตอบ   มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่ มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ความต้องการของผู้ใช้  การใช้งานในแต่ละด้านของระบบ ใหม่ ข้อเด่นและข้อด้อยของวิธีการทำงานในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดทำรายงานสรุป เพื่อนำเสนอต่อฝ่ายจัดการสำหรับทำการตัดสินใจ

 9.  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นออกแบบระบบ?
ตอบ    ทีม งานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วยประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย ปกติทีมงานพัฒนาระบบจะต้องทำการจัดหาสิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอ จากผู้ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทีมพัฒนาระบบจะพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละรายเพื่อนำอุปกรณ์และ ส่วนประกอบของระบบมาติดตั้งและพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป


 10.  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ?
ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบจะ ต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย ปกติทีมงานพัฒนาระบบต้องทำการจัดหามิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอจากผู้ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทีมงานพัฒนาระบบจะพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละรายเพื่อนำอุปกรณ์ และส่วนประกอบของระบบมาติดตั้งและพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป

 11.  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา?
ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบจะ ควบคุมและดุแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบใหม่โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา ทีมงานพัฒนาระบบต้องทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบ ไว้หรือไม่และการติดตั้งควรที่จะสำเร็จตามตารางที่กำหนด เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานแทนที่ระบบเก่าได้ทันเวลา

 12.  รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง?จงอธิบาย
ตอบ  4 รูปแบบ
1.   รูป แบบน้ำตก(Waterfll Model) วงจรการพัฒนาระบบแบบนี้ได้เผยแพร่ใช้งานในปี 1970 ค.ศ. เป็นรูปแบบที่มีมานาน และเป็นที่นิยมใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2.    รูป แบบวิวัฒนาการ(Evolutionary Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบวิวัฒนาการมีแนวความคิดที่เกิดมาจากทฤษฎี วิวัฒนาการ โดยจะพัฒนาระบบจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเวอร์ชัน แรกก่อน จากนั้นจึงพิจารณาข้อดีข้อเสียของระบบ หาข้อผิดพลาดโดยการทดสอบและการประเมินระบบ จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบใหม่จนได้ระบบงานในเวอร์ชันที่ 2 เวอร์ชันที่ 3เวอร์ชันที่  4 และเวอร์ชันต่อ ๆ ไป จนกว่าจะได้ระบบที่สมบูรณ์ที่สุดแต่ต้องมีการวางแผนกำหนดจำนวนเวอร์ชัน ตั้งแต่เริ่มโตรงการพัฒนาระบบให้ชัดเจน
3.   รูป แบบค่อยเป็นค่อยไป(Incremental Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไปมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบ วิวัฒนาการ แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ระบบที่ได้ในแต่ละช่วง  เนื่องจากระบบที่เกิดขึ้นในการพัฒนาขั้นแรกนั้นจะยังไม่ใช่ระบบที่ สมบูรณ์ แต่เป็นระบบส่วนแรกเท่านั้นจากระบบที่ต้องการทั้งหมด จนเมื่อมีการพัฒนาในขั้นที่ 2 จึงได้ระบบที่มีส่วน ที่ 2  เพิ่มเติมเข้าไป และจะมีการเพิ่มส่วนอื่นๆ เข้าไปจนครบทุกส่วน จนกลายเป็นระบบที่สมบูรณ์มากที่สุด เหมาะสมกับการพัฒนาระบบที่มีงานหลายส่วนที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน
4.  รูป แบบเกลียว (Spiral Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบเกลียว จะมีลักษณะที่กระบวนหารวิเคราะห์ การออกแบบ และการพัฒนา จนวนกลับมาในแนวทางเดิมเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ระบบที่สมบูรณ์  การพัฒนาระบบงานด้วย วงจรการพัฒนาในรูปแบบนี้มีความยึดหยุ่นมากที่สุด  เนื่อง จากจากระบวนการทำงานใน 1 รอบ ไม่จะเป็นต้องได้ระบบ และระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนในเละรอบนั้นจะใช้เวลาเท่าไรก็ได้  ไม่จำเป็นต้องเท่ากันในทุก ๆ รอบ ถ้าหากไม่มีความจำเป็น บางขั้นตอนอาจจะถูกข้ามไปก็ได้


13.   การปรับเปลี่ยนระบบมีกี่วิธี อะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ   4  วิธี
1.    การปรับเปลี่ยนโดยตรง (Drrect Conversion) เป็นการแทนที่ระบบสารสนเทศเดิมด้วยระบบใหม่อย่างสมบูรณ์ โดยการหยุดใช้ระบบเก่าอย่างสิ้นเชิงและเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ในทันที  ซึ่งจะรวดเร็วและไม่ซับซ้อน วิธีการแบบนี้องค์การหรือมีข้อบกพร่อง ก็จะทำให้ผู้ใช้ไม่มีระบบใดมารองรับในการใช้งานแทนเลย
2.    การปรับเปลี่ยนแบบขนาน(Parallel Conversion) เป็นการดำเนินการโดยใช้งานทั้งระบบสารสนเทศเก่าและระบบใหม่ไปพร้อม ๆ กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เป็นหลักประกันความเสี่ยงว่า ถ้าระบบงานใหม่ยังไม่สมารถทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงแล้วก็ ยังมีระบบเก่าที่สามารถทำงานได้รองรับงานอยู่
3.   การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ(Phased Conversion) เป็นการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศเก่าไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่เฉพาะงานด้านหนึ่ง ก่อน เมื่องานด้านนั้นทำงานได้ประสบความสำเร็จแล้ว จึงขยายการปรับเปลี่ยนระบบออกไปในด้านอื่นอีก เช่น การเปลี่ยนใช้ระบบใหม่เฉพาะเรื่องการบริหารงานบุคคล เป็นต้น
4.  การปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง(Pilot Conversion) เป็นการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่อย่างเป็นขั้นตอนและค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่ส่วนหนึ่งติดตั้งเสร็จ และใช้งานได้ดีแล้ว ก็จะขยายผลไปในส่วนต่อ ๆ ไป เช่น บางองค์การที่มีสำนักงานอยู่หลายสาขาหลังจากดำเนินการได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว ก็จะขยายใหม่ไปติดตั้งและใช้งานสาขาอื่นต่อไป เป็นตัน
บทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล

1.  เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง?
ตอบ    2 แบบ  คือ
1 . การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  (sequential  File  Organization)
2 . การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  (Random  File  Organization  )

2.  จงอธิบายความหมาย ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ      - การเข้าถึงข้อมูลแบบรวดเร็ว  เนื่องจากผู้ใช้สามารถ เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง  ไม่ต้องผ่านแฟ้มข้อมูลอื่น เหมือนการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ
- สะดวก ในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย  เนื่องจากการปรับ ปรุงข้อมูลทำได้โดยง่าย  ไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับ หรือรอเวลา
- มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงาน  ที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ ตลอด จนมีระยะเวลาในการประมวลผลไม่แน่นอน
  แต่วิธีการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อจำกัดดังตอบไปนี้
-ข้อมูล มีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย  เนื่องจากการดำเนินงานมี ความยืดหยุ่น  ถ้าขาดการจัดการที่เป็นระบบละมี ประสิทธิภาพ  อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บ  ความถูกต้องและความแน่นอนของแฟ้มข้อมูล
3.  ฐานข้อมูลคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน?
ตอบ    ฐาน ข้อมูล  (Database)  หมาย ถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน  ณ  ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ  เพื่อ ที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล  และประยุกต์ ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

4.  เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ตอบ  3 ประเภท  คือ
1 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น (Hiearchical  Data  Model )
2 . แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย(Network  Data  Model  )
3 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Data  Model  )

5.  จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท?
ตอบ      5.1. ชนิดของแบบจำลอง
เชิงลำดับขั้น    เครือข่าย          เชิงสัมพันธ์
             5.2. ประสิทธิภาพการทำงาน
สูง       ค่อน ข้างสูง      ต่ำ (กำลังพัฒนา)
            5.3. ความยืดหยุ่น
ต่ำ         ค่อน ข้างต่ำ       สูง หรือต่ำ
            5.4. ความสะดวกต่อการใช้งาน
 ต่ำ         ปานกลาง        สูง

6.  ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง?
ตอบ  ระบบจัดการฐานข้อมูล  หมายถึง  ชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่ สร้าง ควบคุม  และดูแลระบบ ฐานข้อมูล   เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล  คัดเลือกข้อมูล  และสามารถนำ ข้อมูลนั้นมาใช้งานไดอย่างมีประสิทธิภาพ  โดย ที่  DBMSจะทำหน้าที่เสมือน ตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ  กับ หน่วยเก็บข้อมูล  ซึ่ง DBMS ประกอบ ด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่  3ส่วน คือ
1 . ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data  Definifion  Language ;DDL  )
2 . ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล  ( Data Manipuiation  Language; DML  
3 . พจนานุกรมข้อมูล  (Data  Dictionary  )

7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ  ผู้ที่ ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการฐานข้อมูล  เพราะจะช่วย ให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใขระบบได้ง่าย

8.  นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง?
ตอบ        1. กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
 2 . พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล
 3 . จัดทำหลักฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
 4 . ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลทำงานอย่างปกติ
 5 . ประสานงานกับผู้ใช้

9. เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ (CIO) และ CIO มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร?
ตอบ   เพื่อ ความคล่องตัวในการบริหารงานและการให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ  การที่องค์การเลือกใช้วิธีการจัดหน่วยงานบริหารข้อมูลแบบ ใด  ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน  และปัจจัยแวดล้อมเป็นสำคัญ

10.  จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ  ระบบ ฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์  (Centralized Database System)”ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่อง และยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจาก ความสะดวกในการจัดการและคุณสมบัติของเทคโนโลยี   ทำ ให้ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาขึ้นตามลำดับ


บทที่ 6 การสื่อสารและระบบเครือข่าย

1. ระบบเครือข่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการพัฒนา และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจอย่างไร

ตอบ  พัฒนาการของระบบเครือข่ายสื่อสาร ช่วยให้การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขยายตัวซับซ้อนและครอบคลุมมากขึ้น ปัจจุบันการจัดการและประมวลผลข้อมูลมิได้จำกัดตัวอยู่ที่ส่วนหนึ่งขององค์การ หน่อยงานต่าง ๆ สามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ระบบเทศโนโลยีระบบเครือข่ายยังสร้างเอกภาพ ความถูกต้องความทันสมัย และความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้ระบบเครือข่ายสามารถใช้สารสนเทศที่มีคุณภาพร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ

2. ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ ระบบเครือข่ายแบ่งอกเป็น 4 ชนิด
1. ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่
2. ระบบเครือข่ายเขตเมือง
3. ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่
4. ระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ
3.ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN)และระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่(WAN)มีความ แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ ( LAN) เป็นระบบที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อย่าระยะใกล้เข้าด้วยกัน เช่น ภายในหน่วยงานอาคาร หรือสถาบันเดียวกัน เป็นต้นส่วนระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ (WAA)เป็นระบบเครือข่ายที่ต่อเชื่อมและครอบคลุมพื้นที่กว้างพอสมควร เช่น รอบเมือง หรือรอบจังหวัด การติดต่อสื่อสารมักจะใช้แก้วนำแสง ลวดทองแดง วิทยุ และโทรศัพท์ มาเป็นสื่อกลางสำหรับอุปกรณ์รับส่งข้อมูลตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และต้นทุนการดำเนินงาน

4. จงเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ ช่องทางสื่อสารข้อมูล มี 2 ชนิดคือ การสื่อสารแบบมีสายและระบบสื่อสารแบบไร้สายการสื่อสารแบบมีสายเป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านสายนำสัญญาณ คือ สายโทรศัพท์ เป็นต้นระบบสื่อสารแบบไร้สาย เป็นการสื่อสารโดยการแปรรูปสัญญาณและส่งสัญญาณผ่านในอากาศ โดยไม่มีสายนำสัญญาณเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร ปัจจุบันระบบสื่อสารแบบไร้สายที่ได้รับความนิยม

5. รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายมี 4 แบบ
1. โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)
2. โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology )
3. โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology )
4. โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)

6. ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้าง
ตอบ ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1. การสื่อสารแบบมีสาย (Wired Trasmission Systsms)
-    สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ (Twisted Pair)
-    สายโคแอกเซียล (Coaxiai Cable)
-    สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
2. ระบบสื่อสารแบบไร้สาย (Wieless Transmission Systsms)
- คลื่นสั้น (Microwave)
- ดาวเทียม (Satellite Systsms)

7. สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียม และสายใยแก้วนำแสง มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ (Twisted Pair) ประกอบด้วยเส้นลวด 2 เส้นพันกันเป็นเกลียว โดยมีฉนวนห่อหุ้มเส้นลวดเกลียวคู่แต่ละไว้ เหตุที่เส้นลวดพันกันเป็นเกลียดก็เพื่อลดเสียงรบกวน การส่งข้อมูลด้วยสายเกลียวคู่นี้มักเป็นการส่งสัญญาเสียงสายโคแอกเซียล มีลักษณะเป็นสายทรงกระบอกที่ทำด้วยทองแดง และมีลวดตัวนำอยู่ตรงกลางระหว่างลวดตัวนำและทองแดงมีฉนวนห่อหุ้มโคแอกซ์ สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วสายใยนำแก้ว มีลักษณะเป็นเส้นบาง ๆ คล้ายเส้นใยแก้ว โดยข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณแสงและส่งผ่านตามเส้นใยด้วยความเร็วแสง จึงทำให้เส้นใยนำแสงสามารถส่งข้อมูลจำนวนมกได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน ทนทาน

8. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญาณแบบแอนะล็อกับสัญญาณแบบดิจิตอล
ตอบ สัญญาณแบบแอนะล็อก จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง ระดับของสัญญาณจะเปลี่ยนแปลงสูงหรือต่ำอย่างต่อเนื่อง ที่ทุกๆ ค่าเปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมายสัญญาณแบบดิจิตอล จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียงสองค่า คือสัญญาณระดับสูงและสัญญาณระดับต่ำสุด ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าแอนะล็อก

 บทที่ 7  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

       1. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ การ ตัดสินใจเป็นหน้าที่และบทบาทหลักสำคัญของผู้บริหาร การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือประสมความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่าง ๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับองค์การตัดสินใจ การเลือกโอกาส หรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ ผู้บริหารที่สมารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ และเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ย่อจะสามารถนำพาองค์การให้ปฏิบัติงานด้วนดีและประสบความ สำเร็จ
       2. เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นอีกระดับ อะไรบ้าง
ตอบ การตัดสินใจภายในองค์การแบ่งออกเป็น ระดับ
        1. การตัดสินใจระดับกลยุทธ์(Strategic Decision Making) เป็นการตัดสินใจองผู้บริหารระดับสูงในองค์การ ซึ่งจะให้ความสนใจต่อนาคตหรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขี้น
       2. การตัดสินจะดับยุทธวิธี(Tactical Decision Making) เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับกลางโดยที่การตัดสินใจระดับนี้มักจะเกี่ยวข้อง กับการจัดการ เพื่อให้งานต่าง ๆ เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหารระดับสูง
        3. การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational Decision making) หัวหน้าระดับต้นมักจะต้องเกี่ยวข้องกับการตดสินใจในระดับนี้
3. เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นอีกขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ กระบวนการตัดสินใจออกเป็น ขั้นตอน
         1. การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence)
         2. การออกแบบ (Design)
         3. การคัดเลือก (Choice)
4. การตัดสินใจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ การตัดสินใจมี ประเภท
         1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decision) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำเป็นกิจวัตร โดยการตัดสินใจประเภทนี้จะมีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่ถูกกำหนดไว้อย่างชันเจน
        2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ
         3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงการ (Semistructred Decision ) เป็นการตัดสินใจที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจทั้ง ประเภท
5. การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
        ตอบ การ เปลี่ยนแปลง การแข่งขันและผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจทำให้ผู้ บริหารต้องสามารถตัดสินใจในปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะผู้ บริหารระดับสูงขององค์การที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่หลากหลายซับซ้อน และไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจนจึงต้องนำต้องพยายามนำหลักการ เทคนิค และเครื่องมือต่าง ๆ มาประยุกต์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโยลีสารสนเทศได้เข้ามีมีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาของธุรกิจ โดยเฉพาะช่วยสร้างความแน่นอนความเชื่อถือได้ และพัฒนาประสิทธิภาพในการตัดสนใจในปัญหาที่มีโครสร้างน้อยและไม่มีโครงสร้าง ให้สูงขึ้น
6. จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ ระบบ สนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
      7. DSS มีส่วนประกอบอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ 1. อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถแบ่งออกเป็น กลุ่ม
        อุปกรณ์ประมวลผล
        อุปกรณ์สื่อสาร
       อุปกรณ์แสดงผล DSS
     2.ระบบการทำงาน ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญดังนี้
              - ฐานข้อมูล
              - ฐานแบบจำลอง
              - ระบบชุดคำสั่งของ DSS
   3.ข้อมูล โดยที่ข้อมูล DSS ที่เหมาะสมที่จะมีลักษณะดังนี้
-          มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้
-          มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
-         สามารถนำไปใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
-          มีความยืดหยุ่น และสามารถนำมาจัดรูปแบบเพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม
  4.บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคลากรจะต้องเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การกำหนดปัญหาและความต้องการ การพัฒนา การออกแบบและการใช้DSS สามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องออกเป็น กลุ่ม
           - ผู้ใช้
           - ผู้สนับสนุน
      8. การพัฒนา DSS มีความเหมือนหรือแตกต่างจาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติการที่แลกเปลี่ยน เก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลคือ DSS จะจัดการเก็บข้อมูลให้ป็นสารสนเทศที่เหมาะสมกับการตัดสินใจของผู้ใช้ โดย DSS จะใช้ข้อมูลที่ประมวลผลจากกระบวนการปฏิบัติการมาจัดระเบียบ และวิเคราะห์ตามคำสั่งและความสนใจของปัญหานอกจากนี้ DSS ยังช่วยเร่งพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุม มากกว่าปฏิบัติงานประจำวัน
     9. ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา DSS อย่างไร
ตอบ 1. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ขั้นตอนแรกในการพัฒนา DSS โดย มีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา ตลอดจนวิเคราะห์หาขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหานั้น ๆ โดยผู้ที่จะใช้ระบบสมควรที่จะมีส่วนรวมในขั้นตอนนี้เป็นอย่างยิ่ง
         2. การออกแบบ (System Design) จะเป็นระบบสารสเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไป เรื่อย ๆ ผู้ออกแบบควรจะออกแบบให้ระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสม
         3. การนำไปใช้ (ImplemrntaionDSS จะ แตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไป ที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบัน และจะพัฒนาต่อไปในอนาคต
10. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม (GDSS)
ตอบ ระบบ สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่มคือ เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในการตัดสินใจของกลุ่ม การที่ GDSS จะถูกนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ ประการ
               - อุปกรณ์
               - ชุดคำสั่ง
               - บุคลากร
ประโยชน์ของ GDSS
1. ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2.มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3.สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4.สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5.มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6.ช่วยในการประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7.มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น